The National Workshop on Guideline and Standard method of data collection and fisheries indicators, Myanmar

Date: 25-29 August 2009
Venue: Fisheries Federation Building, Yangon in Myanmar

SEAFDEC-TD collaborated with the Department of Fisheries (DOF), Myanmar to organize the workshop sponsored by Japanese Trust Fund. The major objective of the workshop is to set up a standard method of data collection and fisheries indicator for fisheries management in Myanmar.

Mr. Khin Ko Lay, Director-General of the DOF, Myanmar had a great pleasure to welcome Thai resource person, Myanmar officials, SEAFDEC staffs as participants and Fisheries Federation members as observers to the workshop. The Director-General greatly made an emphasis on the importance of standard method of data collection. The method would be useful and fruitful to set a plan for fisheries resources management in Myanmar by using fisheries indicator. To achieve this expectation, he encouraged all participants to actively share and exchange idea and experiences to make standardize fisheries data collection method based upon their expertise. Then, he kindly declared opening the workshop and invited all participants to take group photography.

After opening ceremony, Mr. Khin Maung Soe was as moderator to the workshop. He led the workshop started by adoption of the workshop agenda presented by Dr. Phattareeya Suanrattanachai. Then, Dr. Yuttana Theparoonrat presented background, objectives and expectation of the workshop to audiences. Next was Dr. Mala Supongpan was as resource person of the workshop given a presentation on an importance of fisheries indicators for fisheries management. During the present, common problems of fisheries management in temperate and tropical zone was explained a difference and difficulty to conduct data collection. An application of maximum sustainable yield (MSY) was introduced to manage fisheries resources. In addition, definition, type of fisheries indicators was described to the workshop as basic information. Myanmar officials were very interested in the presentation that some raised question and asked more clarification on MSY and fishing indicators.

To tangibly understand the concept, definition and type of indicators, Dr. Phattareeya S. was responsible for giving the presentation based on experience from Thailand. During this session, Dr. Mala S. kindly co-presented to transfer more details and experience on how to conduct data collection and received local fishers participated in data collection. According to this session, all participants had a basic knowledge on fishing indicators for fisheries management.

Participants of the workshop divided into two groups based on their experience and expertise. One was small-scale fisheries group, another was large-scale fisheries group. Each group was assigned to brainstorm designing log sheet by type of fishing gear selection for collecting fisheries resource data. Small-scale fisheries group selected five types of fishing gear as samples for data collection namely stow net, gill net, trap, beach seine and purse seine (anchovy purse seine. These five types of fishing gear would be occupied in inland and coastal fisheries. Large scale fisheries group selected only two types of fishing gear were trawl fisheries and purse seine fisheries. Then, each group started to design log sheet covered resource and socio-economic indicators as tool to collect data of each type of fishing gear. In addition, each group was requested to present the draft of designed log sheets to the workshop in order to share and get comment and recommendation on the log sheets.

The workshop had set up process of progressive practice of log sheets in field trip to recognize problems; constraints and seeking a proper and more applicable ways to develop the log sheets (see Annex1). The result of the practice will be an input of the conclusive workshop in the second week of December, 2009. In this connection, the workshop also agreed to organize working group for undertaking the task with the official and stakeholders of department of fisheries, fishing companies, Myanmar Fisheries Federation, and local management authorities. SEAFDEC staff gave suggestion on the log sheet should be translated in Myanmar language for easy use and understand in localities.

Mr. Khin Maung Soe was on behalf of the Director General, the Department of Fisheries, Myanmar, that the workshop was great opportunity to learn and share experience to standardize data collection method and fisheries indicator for Myanmar. Before closing, Dr. Yuttana T. was highly appreciate to all participants actively participated in the workshop. Dr.Mala S. expressed her encouragement to the workshop to work on the data collection and fisheries indicator. Mr. Khin Maung Soe presented his gratitude to all participants and declared the workshop closed.

รายงานการฝึกอบรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (Ecotourism)

ณ ศูนย์หมู่บ้านท้องครก หมู่ที่13 บ้านท้องครก ต.บางน้ำจืด อ.หลังสวน จ.ชุมพร
วันที่ 29 กรกฎาคม 2552
ความเป็นมา
ด้วยความร่วมมือระหว่างสำนักงานฝ่ายฝึกอบรมศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และกรมประมงได้ดำเนินโครงการ การจัดการความร่วมมือการจัดการประมงชายฝั่งด้านการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ภายใต้โครงการการจัดการชุมชนประมงชายฝั่งอย่างยั่งยืนโดยชุมชน ซึ่งโครงการฯ ได้ดำเนินกิจกรรมการวางซั้งเชือก จำนวน 10 ชุด ในบริเวณเกาะคราม เกาะพิทักษ์ บ้านทองครก หมู่ที่ 13 หมู่ที่ 14 ตำบลบางน้ำจืด อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร โดยชาวประมงและคนในชุมชนมีความคิดเห็นว่า ถ้ามีการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (Ecotourism) เกิดขึ้นในชุมชน จะเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว เพิ่มรายได้และอาชีพให้กับคนในชุมชนได้อีกทางหนึ่ง และเนื่องด้วยชาวประมงมีความต้องการองค์ความรู้ในเรื่องของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เพื่อเป็นทางเลือกในการประกอบอาชีพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศดังกล่าว ดังนั้น จึงได้มีการจัดการฝึกอบรมหลักสูตรด้านการท่องเที่ยวเชิงนิเวศให้กับชาวประมงในพื้นที่ อ.หลังสวน จ.ชุมพร

วัตถุประสงค์ในการฝึกอบรม
1.เพื่อส่งเสริมชาวประมงให้มีความรู้ความเข้าใจในการอนุรักษ์และใช้ทรัพยากรประมงอย่างรับผิดชอบ
2.เพื่อสร้างเสริมทักษะให้กับชาวประมงในการประกอบอาชีพของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยใช้ทรัพยากรประมงอย่างรับผิดชอบ
3.เพื่อเป็นแนวทางเสริมในการประกอบอาชีพ และลดการลงแรงในการทำประมง

ผู้เข้าร่วมการฝึกอบรม กลุ่มชาวประมงและชาวบ้านที่สนใจ จำนวน 30 ท่าน
ตารางกิจกรรม
10.00 - 10.30 น. ลงทะเบียนและเปิดการประชุม
10.30 - 11.30 น. การจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรประมงเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ โดย นายอุทัย วรมาศกุล
11.30 - 12.00 น. ตอบข้อซักถาม
12.00 - 13.30 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.30 - 14.30 น. การใช้ทรัพยากรประมงอย่างรับผิดชอบ โดย นายทวีเกียรติ อมรปิยะกฤษฐ์
14.30 - 15.30 น. ตอบข้อซักถาม

รายงานผลการฝึกอบรม
1. เปิดการฝึกอบรม
โดย ดร.ภัทรียา สวนรัตนชัย หัวหน้าแผนกการจัดระบบการประมงของรัฐ กองการจัดการประมงชายฝั่ง ฝ่ายฝึกอบรม ศูนย์พัฒนาฯ เป็นผู้กล่าวเปิดการจัดการฝึกอบรมนี้ และเชิญ ผอ.อุทัย วรมาศกุล ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานจังหวัดชุมพร มาบรรยายในเรื่องการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ หลังจากนั้นในช่วงบ่ายจะเป็นการบรรยายในเรื่อง การใช้ทรัพยากรประมงอย่างรับผิดชอบในบริเวณซั้งเชือก โดย ดร.ทวีเกียรติ อมรปิยะกฤษฐ์ หัวหน้าแผนกส่งเสริมทรัพยากรการประมง กองการจัดการประมงชายฝั่ง และจะมีการตอบข้อซักถามในตอนท้ายของการบรรยาย

2. การจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรประมงเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
โดย ผอ.อุทัย วรมาศกุล กล่าวถึงความเป็นมาของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และองค์ประกอบสำคัญของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ คือ ชุมชน แหล่งท่องเที่ยว และนักท่องเที่ยว โดยชาวบ้านในชุมชนต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดรูปแบบของการท่องเที่ยว
นอกจากนี้กล่าวถึงธนาคารปูในจังหวัดชุมพร ว่าเป็นรูปแบบหนึ่งในการใช้ทรัพยากรประมงอย่างยั่งยืน ซึ่งสามารถนำนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยว ศึกษาดูงานและให้ความรู้ในส่วนนี้ได้ โดยจะเป็นแหล่งท่องเที่ยวและเรียนรู้ที่สำคัญ และในด้านของมัคคุเทศก์ควรมีการจัดฝึกอบรมอย่างเป็นทางการ โดยส่วนนี้อาจจะขอรับเงินสนับสนุนจากภาครัฐได้


3. การใช้ทรัพยากรประมง อย่างรับผิดชอบในบริเวณซั้งเชือก
โดย ดร.ทวีเกียรติ อมรปิยะกฤษฐ์ โดยเริ่มจากวัตถุประสงค์ของซั้งเชือก หลังจากนั้นได้นำเสนอรูปภาพและวีดีโอตั้งแต่การทำซั้งเชือก จนกระทั่งนำซั้งเชือกออกไปวางในบริเวณชายฝั่ง รวมถึงปัญหาและข้อบกพร่องของซั้งเชือก และได้แนะนำให้ชาวประมงดัดแปลงซั้งเชือกโดยใช้วัสดุที่มีอยู่ในชุมชน ซึ่งจะทำให้ราคาต้นทุนของซั้งเชือกต่ำลง และได้ยกตัวอย่างประเทศฟิลิปปินส์ ที่มีการกำหนดโควต้าการตกปลาในบริเวณซั้ง คือ จำนวนเบ็ดใน 1 สาย ต้องอยู่ระหว่าง 10-12 ตัว และความถี่ในการไปตกปลาไม่เกินสัปดาห์ละ 2 ครั้ง เป็นต้น
นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการใช้เครื่องมืออวนในบริเวณซั้งเชือก และไม่ควรวางซั้งเชือกในพื้นที่ที่กีดขวางการเดินเรือหรือทำประมง ส่วนขยะที่ย่อยสลายไม่ได้ เช่น พลาสติก แก้ว โลหะ ควรนำมากำจัดบนบก และควรมีการเพิ่มทุ่นเมื่อซั้งเชือกเกิดการจมตัว

4. การแสดงความคิดเห็นและตอบข้อซักถาม
หลังจบการบรรยายได้มีการซักถามและแสดงความคิดเห็นจากชาวบ้านต่อผลของการวางซั้งในพื้นที่ เกาะครามและเกาะพิทักษ์ ระยะเวลานาน 5 เดือน (จัดวางในวันที่ 16-19 กุมภาพันธ์ 2552) ซึ่งสรุปได้ดังต่อไปนี้
1. ทุ่นผิวน้ำ 6 ลูก มีขนาดเล็กเกินไป ไม่เพียงพอที่จะพยุงซั้งเชือกให้ลอยตัวอยู่ได้นาน เนื่องจากมีสิ่งเกาะติดจำนวนมาก
2. มีสัตว์น้ำเข้ามาในพื้นที่มากขึ้น จำนวนชนิดหลากหลายมากขึ้น
3. ส่งเสริมอาชีพและรายได้ของชาวประมง
4. ชาวประมงมีโครงการที่จะเพิ่มเติมแนววางซั้งให้ไกลออกไปถึง 5,000 เมตร เพื่อเป็นแนวป้องกันการรุกล้ำเข้ามาของเรือประมงพาณิชย์ด้านนอก และจะให้ทางจังหวัดประกาศเป็นเขตเฉพาะ โดยชาวประมงจะรวมกลุ่มกันเพื่อสร้างกลุ่มให้เข้มแข็งและช่วยกันปกป้องพื้นที่ชายฝั่ง
5.ชาวประมงมีแผนที่จะวางซั้งในแนวน้ำตื้นน้อยกว่า 5 เมตรด้วยเช่นกัน โดยดัดแปลงซั้งให้เหมาะสมกับความลึกของน้ำ เพื่อเพิ่มแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำใกล้ชายฝั่งมากขึ้น ทั้งนี้เบื้องต้นจะใช้เป็นแหล่งตกปลาสำหรับนักท่องเที่ยวที่มาใช้บริการ ในบริเวณอ่าวทองครก และเกาะพิทักษ์
6.ชาวประมงมีความคิดเห็นพ้องกันว่าซั้งเชือกช่วยในการเพิ่มพูนทรัพยากรสัตว์น้ำชายฝั่งทั้งผิวน้ำและหน้าดินได้เป็นอย่างดี ส่งเสริมความร่วมมือของชาวประมงในการทำงานร่วมกัน การปกป้องพื้นที่และเสริมรายได้ของชาวประมงนอกเหนือไปจากเครื่องมือประมงที่ใช้เป็นประจำ
7. มีหอยแมลงภู่ หอยมุกจาน และสิ่งเกาะติดอื่นๆ เกิดขึ้นบริเวณเนื้ออวนกระโปรงจำนวนมาก แต่เนื่องจากมีน้ำหนักมากและอยู่ลึก ทำให้ไม่สามารถนำขึ้นมาใช้ประโยชน์ หรือนำออกเพื่อลดน้ำหนักของซั้งได้