Report of Lamtakong trip on 19-20 May 2009

รายงาน : การสัมมนาการจัดการทรัพยากรประมงในเขื่อนลำตะคอง
ณ. ศูนย์ป้องกันฯภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง จังหวัดนครราชสีมา
วันที่ 20 พฤษภาคม 2552

ความเป็นมา
ตามที่ศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้จัดทำโครงการร่วมกับกรมประมงในการสร้างเสริมศักยภาพของชุมชนในการบริหารจัดการร่วมเพื่อฟื้นฟูทรัพยากรประมง โดย ใช้พื้นที่อ่างเก็บน้ำลำตะคอง จังหวัดนครราชสีมา เป็นพื้นที่เป้าหมาย และได้ทำการสำรวจข้อมูลพื้นฐานของชุมชนประมงไปแล้วนั้น เมื่อวันที่ 24-26 กุมภาพันธ์ 2552 รวมทั้งได้ทำการวิเคราะห์ผลการสำรวจเสร็จสิ้น ทางโครงการฯ จึงได้จัดสัมมนานำเสนอผลของการสำรวจข้อมูลพื้นฐานดังกล่าวให้กับชุมชนประมง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับทราบและช่วยกันหาแนวทางในการแก้ไขปัญหา และแนวทางในการจัดทำกิจกรรมเพื่อนำไปสู่การบริหารจัดการประมงในเขื่อนลำตะคองอย่างยั่งยืน

วัตถุประสงค์
1. เพื่อส่งเสริมการประกอบอาชีพของชาวประมงให้เป็นไปแบบเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและยั่งยืน
2. เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กรและชุมชน เพื่อเป็นกลไกในการจัดการทรัพยากรประมง
3. เพื่อเสริมสร้างเครือข่ายชุมชนประมง ในการพัฒนาทรัพยากรประมงอย่างยั่งยืน
4. เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาด้านการทำประมงในเขื่อนลำตะคองร่วมกันระหว่างชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
5. เพื่อหารูปแบบการจัดการทรัพยากรประมงร่วมระหว่างชุมชนและภาครัฐ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ชุมชนประมงสามารถปฏิบัติและรู้สึกมั่นคงในการประกอบอาชีพ
2. องค์กรของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจะเป็นแกนนำในการทำหน้าที่จัดการทรัพยากรประมง โดยจะใช้ทรัพยากรอย่างรับผิดชอบ
3. มีการให้ รับ และแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างชุมชน โดยผ่านเครือข่าย
4. ชุมชนสามารถเข้าใจแนวทางแก้ไขปัญหาด้านการประมงร่วมกัน
5. ชุมชนและภาครัฐสามารถเข้าใจแนวทางในการจัดการทรัพยากรประมงร่วมกัน

หมายกำหนดการ
วันพุธที่ 20 พฤษภาคม 2552
0830-0900 ลงทะเบียน
0900-0930 วาระที่ 1 พิธีเปิดการประชุม โดย ประมงจังหวัดนครราชสีมา และเลขาธิการฯศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
0930-1000 วาระที่ 2 ความเป็นมาของโครงการฯ
1000-1030 พักรับประทานอาหารว่าง
1030-1115 วาระที่ 3 การอนุรักษ์ทรัพยากรประมงโดยการกำหนดเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ
1115-1200 วาระที่ 4 มาตรการกำหนดฤดูปลาวางไข่ เขื่อนลำตะคอง
1200-1300 พักรับประทานอาหารกลางวัน
1300-1430 วาระที่ 5 รายงานผลการสำรวจข้อมูลพื้นฐานของแหล่งทำประมง และกิจกรรมของชาวประมงในพื้นที่บริเวณเขื่อนลำตะคอง
1430-1530 วาระที่ 6 เรื่องอื่นๆ
1530-1545 วาระที่ 7 ปิดการประชุม

ผู้เข้าร่วมประชุม
จำนวนผู้เข้าร่วมการประชุมรวม 113 คน ประกอบด้วยชุมชนประมงกลุ่มต่างๆ รวม 79 คน โดยมาจากกลุ่มประมงบ้านท่างอย กลุ่มประมงบ้านป่าไผ่ กลุ่มประมงบ้านท่าหีบ กลุ่มประมงบ้านเขาน้อย และ กลุ่มประมงตำบลคลองไผ่ สำหรับหน่วยงานภาครัฐรวม 34 คน ศูนย์ป้องกันและปราบปรามการประมงน้ำจืด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง จังหวัดนครราชสีมา สำนักงานประมงจังหวัดนครราชสีมา สำนักงานสหกรณ์จังหวัดนครราชสีมา เทศบาลตำบลคลองไผ่ โครงการส่งน้ำ และบำรุงรักษาลำตะคอง โรงไฟฟ้าเขื่อนลำตะคอง องค์การบริหารส่วนตำบลจันทึก องค์การบริหารส่วนตำบลหนองสาหร่าย วิทยาลัยการอาชีพปากช่อง ศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด จังหวัดนครราชสีมา

สรุปการประชุม
1. พิธีเปิด
คุณสุพร สุทธานุรักษ์ ประมงจังหวัดนครราชสีมา เป็นผู้กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมสัมมนา “การจัดการทรัพยากรประมงในเขื่อนลำตะคอง” กล่าวถึงความสำคัญของลำน้ำลำตะคองรวม 3 ด้านหลัก คือ 1) การใช้น้ำเพื่อการบริโภค 2) การเกษตรกรรม และ 3) การประมง

วัตถุประสงค์ในการสัมมนาครั้งนี้เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาด้านการประมงร่วมกันระหว่างชุมชนที่ใช้ลำน้ำลำตะคองในการประกอบอาชีพกับหน่วยงานภาครัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งหาแนวทางในการจัดการทรัพยากรประมงร่วมระหว่างชุมชนและภาครัฐ ซึ่งหวังว่าผลของการสัมมนาในครั้งนี้สามารถได้ข้อตกลงในการทำประมงอย่างยั่งยืน และแนวทางแก้ไขร่วมกันระหว่างชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งถ้าชุมชนประมงมีการจัดการและดูแลร่วมกันจะนำไปสู่ผลผลิตด้านการประมงที่สูงขึ้นตามมา

ดร. สิริ เอกมหาราช ท่านเลขาธิการฯ ศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ได้กล่าวเปิดการสัมมนาอย่างเป็นทางการ โดยเน้นให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาโดยเฉพาะอย่างยิ่งชุมชนประมงปฏิบัติ และตะหนักในเรื่องการทำประมงอย่างรับผิดชอบ และนำแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เน้นการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน และการสร้างเครือข่ายชุมชนในบริเวณเขื่อนลำตะคอง และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการสัมมนาครั้งนี้ จะได้รับรูปแบบการจัดการทรัพยากรประมง และ แนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกัน สุดท้ายขอให้ทุกท่านช่วยกันระดมความคิด และแนวทางในการจัดการร่วมกัน

นายปรีชา วลานาวัง ผู้ช่วยหัวหน้าศูนย์ป้องกันฯ ได้กล่าวขอบคุณศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้มอบรถยนต์กะบะโตโยต้า 4 ประตู และเครื่องฉาย LCD ให้กับศูนย์ป้องกันฯเพื่อใช้ในการดำเนินโครงการฯร่วมกับศูนย์พัฒนาฯ และกล่าวแนะนำเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในการสัมมนาครั้งนี้ด้วย โดยแนะนำว่าเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะเป็นผู้ให้ความรู้ที่เป็นประโยชน์ด้านการจัดการทรัพยากรประมงร่วมให้กับพวกท่านในการสัมมนาครั้งนี้

2. ความเป็นมาของโครงการฯ
ดร.ยุทธนา เทพอรุณรัตน์ หัวหน้ากองการจัดการประมงชายฝั่ง ฝ่ายฝึกอบรม ศูนย์พัฒนาฯ กล่าวถึง ประวัติ และขอบเขตการทำงานของศูนย์ฯ ก่อนที่จะนำเสนอความเป็นมาของโครงการฯร่วม ซึ่งโครงการฯร่วมเกิดจากปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรประมงในเขื่อนลำตะคอง และจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554) ได้นำปรัญชาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้เพื่อการฟื้นฟูการประกอบอาชีพ ความพอเพียงในที่นี้มุ่งเน้นเรื่องการปฏิบัติทางสายกลาง ด้วยความพอเพียง ความมีเหตุผล และเป็นภูมิคุ้มกันตนเอง ศูนย์พัฒนาฯและกรมประมงจึงได้ร่วมกันจัดตั้งโครงการสร้างเสริมศักยภาพของชุมชนในการบริหารจัดการร่วม เพื่อฟื้นฟูทรัพยากรประมงใน พื้นที่อ่างเก็บน้ำเขื่อนลำตะคอง โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ
1. เพื่อส่งเสริมการปฏิบัติและประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
2. เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งในการจัดตั้งองค์กร
3. เพื่อเสริมสร้างเครื่อข่ายชุมชนประมง

3. การอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ
ดร.ยุทธนา เทพอรุณรัตน์ ได้อธิบายถึงคำจำกัดความของเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ หมายถึงเป็นเขตพื้นที่ระหว่างระดับน้ำขึ้นและลง หรือเขตพื้นดินใต้ระดับน้ำลง รวมทั้งภายในมวลของน้ำ พืชและ สัตว์ที่อาศัยอยู่ ชนิดของสัตว์น้ำที่มีอยู่เดิมทางธรรมชาติและชนิดที่นำเข้ามา ซึ่งทั้งหมดได้รับการอนุรักษ์โดยกฏหมาย หรือการคุ้มครองด้วยวิธีการอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการคุ้มครองบางส่วนหรือหมดทั้งสภาวะแวดล้อมนั้นๆ ซึ่งคำจำกัดความของเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำโดยทั่วไปจะครอบคลุมเกี่ยวกับเครื่องมือที่ใช้ในการจัดการ ในหลายประเทศได้มีการใช้คำจำกัดความของมาตรการจัดการที่เฉพาะแตกต่างกันออกไป ซึ่งยังไม่มีรูปแบบที่เป็นมาตรฐานในระดับโลก แต่การจัดตั้งเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำถือเป็นเครื่องมือในการจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืนแนวทางหนึ่ง มีวัตถุประสงค์หลักคือ
1. ลดความเสี่ยงในการเกิดสภาวะการทำประมงที่เกินศักยภาพการผลิต
2. การจัดการโครงสร้างของประชากรสัตว์น้ำ
3. รักษาไว้ซึ่งสภาวะของแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำ

ความคาดหวังที่จะได้รับจากภายในเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ
1. เสริมสร้างสภาวะการอนุรักษ์ของความหลากหลายทางชีวภาพของสัตว์ทะเล
2. เสริมสร้างโอกาสในการเพิ่มพูนมูลค่าของทรัพยากรที่ไม่ได้นำมาใช้ในการบริโภค
3. เสริมสร้างพื้นที่เขตที่ไม่ได้ถูกรบกวนเพื่อใช้ในการทำวิจัยทางวิทยาศาสตร์

ความคาดหวังที่จะได้รับจากภายนอกเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ
1. เสริมสร้างปรากฏการณ์เชิงบวกของ biological spillovers ออกไปจากพื้นที่ที่ไม่ได้จัดเป็นเขตอนุรักษ์
2. จะช่วยในการเพิ่มปริมาณการจับสัตว์น้ำในภาคการประมง
3. ช่วยส่งเสริมมูลค่าทางการค้าโดยการเปลี่ยนแปลงชนิดของสัตว์น้ำที่จับได้ที่หลากหลาย

4. มาตรการกำหนดฤดูปลาวางไข่ในเขื่อนลำตะคอง
คุณปรีชา วลานาวัง ผู้ช่วยหัวหน้าศูนย์ป้องกันฯ ได้นำแผนที่อ่างเก็บน้ำลำตะคองให้ชุมชนประมงที่มาร่วมสัมมนาช่วยกันกำหนดแนวเขตที่จะอนุรักษ์ปลาวางไข่ในปี 2552 และอธิบายเพิ่มเติมว่า ทุกๆ ปีก่อนจะทำการปิดอ่างระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน ถึงวันที่ 30 กันยายน ทางศูนย์ป้องกันฯ จะจัดประชุม ร่วมกันระหว่างกลุ่มประมงรอบเขื่อนลำตะคองกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่นกรมประมง กรมชลประทาน การไฟฟ้า เป็นต้น เพื่อช่วยกันกำหนดแนวเขตอนุรักษ์ และการทำกิจกรรมร่วมกันก่อน วันปิดอ่าง

5. รายงานผลการสำรวจข้อมูลพื้นฐานฯ เพื่อศึกษาปัญหาและแนวทางแก้ไขในพื้นที่
นางสาวธัญลักษณ์ เสือสี นักเศรษฐสังคมประมง กองการจัดการทรัพยากรประมงชายฝั่ง ฝ่ายฝึกอบรม ศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ นำเสนอผลการสำรวจข้อมูลพื้นฐานของชาวประมงจำนวน 67 ราย และผู้ค้าสัตว์น้ำจำนวน 10 รายในพื้นที่เขื่อนลำตะคอง และพูดคุยถึงปัญหาและแนวทางแก้ไขเพื่อการจัดการประมงภายในอ่าง

6. พิธีปิด
ดร. สิริ เอกมหาราช เลขาธิการ ศูนย์ฯ ได้กล่าวขอบคุณทุกท่านที่เสียสละมาประชุมในวันนี้โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เจ้าหน้าที่ศูนย์ป้องกันฯ ได้ทำงานอย่างหนักในการจัดสัมมนาในครั้งนี้ และสุดท้ายนี้ทางศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ยินดีสนับสนุนการจัดการทรัพยากรประมงในเขื่อนลำตะคองให้ยั่งยืนต่อไป

รายงานโดย สุมิตรา เรืองสิวะกุล
Email: sumitra@seafdec.org

Following-up SEAFDEC-DOF Project in Chumphon Province

Date: 26-29 May 2009
Venue: Langsuan District, Chumphon Province, Thailand

SEAFDEC staff visited and informed the head of Baan Tongkroke village, Mr. Kasem Sangbangka, on the purpose of this visiting which was to interview local people on the affection of FEDs installation and how to manage FEDs by using questionnaire and discussion.

Mr. Kasem informed SEAFDEC staffs that the activity of FEDs installation was interested by other three adjacent sub-districts namely Bang Namjued, Pak Num Langsuan, Bang Ma Phroa and Na Pa Ya. These four sub-districts had discussed and made a plan to install FEDs along coastal line of their respective villages under the DOF project named principal fisheries community led by Bureau of Fisheries Management and Administration. However, now it is processing committee establishment and finding budget source. The Pak Nam Langsuan Fisheries Association is an important partner to support FEDs installation in kind and cash, tentatively. In addition, he also clarified the plan of “Temporary Market” every Wednesday for selling aquatic yields from local fishers and other products from the local villagers.

Mr. Ampol Krutthani, the head of Baan Kohpitak requested for the FEDs manual which will be used as information for setting up other FEDs to promote and rehabilitate fisheries resource in Langsuan District. Moreover, he recommended on crab bank management and promotion that should have more crab bank cage which locates not far from fisher’s household for crab releasing easily.

SEAFDEC staff have discussed with Mr. Wairat Patharn, who is chair of crab bank conservation group. The staff purposed the group to practice on data collection of crab bank management, so SEAFDEC staff asked for cooperation from the group member to collect gravid crab releasing into the crab bank as data. The staff and fishery officials in Chumphon will support and make a data recording sheet, after that sent the sheet and taught them for recording.


Data collection on monitoring FEDs installation and management


There were 23 interviewees divided into two villages which was 17 and 6 persons from Ban Tongkroke and Ban Kohpitak villages, respectively. The result was local people satisfied with FEDs. Although FEDs were installed just only 2 month, most of fishers realized that FED has many advantages, for example; fishing ground, aquatic resource restoration, fish increasing, habitat for small aquatic resource and defend from trawl.

However, FEDs got some damage and sink down into the sea because there were more shell or barnacle hang on a rope, in order to solve this problem buoy should be added for making a balance of FEDs.

In addition, they requested more 5-6 FEDs installation in front of their village (distance are 200-300 m. from shore line), especially trap fisherman because FED will prevent trawls fishery from their trap. And FED Platform should be longer used as habitat increasing of fish. Furthermore, interviewees were agreed, if there are representatives of each village were responsible for managing and monitoring FEDs.

Since FEDs were set up in this area seemed to them the fisheries resources are enhancing and they really hope in the future these will be an opportunity for eco-tourism.

At Chumphon Fisheries Provincial Office and Chumphon Marine Fisheries Research and Development Center

In the last day, SEAFDEC staffs visited the Chumphon Fisheries Provincial Office and Marine Fisheries Research and Development Center, respectively. Then, the staffs summarized the information which has got from the data collection from fishers based on the FED project and monitoring. And also SEAFDEC staffs asked for the collaboration and support from both offices to follow-up activities of FED project and other project that head village are planning and also including the training workshop for the fisher group which will be organized in July 2009.