วันที่: 18-20 พฤศจิกายน 2551
สถานที่: สำนักงานฝ่ายฝึกอบรม ศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำคู่มือการเก็บข้อมูลของตัวชี้วัดทางการประมงในประเทศไทย มีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งสิ้นจำนวน 22 ท่าน โดยเป็นนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญจากกรมประมง และเจ้าหน้าที่กองการจัดการประมงชายฝั่งของศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ วัตถุประสงค์ในการประชุมครั้งนี้ คือ
1) เพื่อสรุปรูปแบบคู่มือและมาตรฐานการเก็บข้อมูลจัดทำคู่มือการเก็บข้อมูลตัวชี้วัดทรัพยากรประมง
2) เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ปัญหาที่พบจากการนำสมุดบันทึกข้อมูล (log sheet) ไปทดลองใช้
3) เพื่ออภิปรายหารูปแบบ และ ปรับปรุงเนื้อหาของสมุดบันทึกข้อมูลการเก็บตัวอย่าง (log sheet) เพื่อใช้ประโยชน์ในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มเรือประมงพาณิชย์ เรือประมงพื้นบ้าน และให้กลุ่มผู้ใช้ทรัพยากรได้มีส่วนร่วมในการกรอกข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็น และ
4) เพื่อให้ที่ประชุมยอมรับในรายละเอียดของข้อมูลเพื่อที่จะใช้เป็นแนวทางในการเก็บข้อมูลและจัดทำคู่มือการเก็บข้อมูลของตัวชี้วัดเพื่อที่จะใช้เป็นมาตรฐานการเก็บข้อมูลให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันทั่วประเทศ
ที่ประชุมได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นพูดคุยถึงปัญหาและประสบการณ์จากการทดลองใช้แบบสัมภาษณ์และ แบบสอบถาม (log sheet) ที่เป็นผลจากการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อการจัดเก็บข้อมูลและจัดทำเป็นคู่มือการเก็บข้อมูลของตัวชี้วัดจากเรือประมงพาณิชย์ในประเทศไทย ระหว่างวันที่ 5-7 สิงหาคม 2551 และ การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อการจัดเก็บข้อมูลและจัดทำเป็นคู่มือการเก็บข้อมูลของตัวชี้วัดจากเรือประมงพื้นบ้านในประเทศไทย ระหว่างวันที่ 13-15 สิงหาคม 2551 รวมถึงเนื้อหาของแบบสัมภาษณ์ที่ใช้ในการเก็บข้อมูล หลังจากได้มีการอภิปรายพูดคุยโดยรวมแล้วผู้เข้าร่วมประชุมแบ่งเป็น 2 กลุ่ม โดยทำการอภิปรายเพื่อปรับปรุงแก้ไขและสรุปเนื้อหาแบบฟอร์มหรือสมุดบันทึกข้อมูล (log sheet) ในส่วนของกลุ่มเรือประมงพาณิชย์ (อวนลากและอวนล้อมจับ) และกลุมประมงพื้นบ้าน (อวนลอย ลอบ และอวนและแหครอบ) ให้มีความเหมาะสมสำหรับนักวิชาการที่สามารถนำไปใช้ได้จริงโดยพิจารณาจากผลการนำไปทดลองใช้
สถานที่: สำนักงานฝ่ายฝึกอบรม ศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำคู่มือการเก็บข้อมูลของตัวชี้วัดทางการประมงในประเทศไทย มีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งสิ้นจำนวน 22 ท่าน โดยเป็นนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญจากกรมประมง และเจ้าหน้าที่กองการจัดการประมงชายฝั่งของศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ วัตถุประสงค์ในการประชุมครั้งนี้ คือ
1) เพื่อสรุปรูปแบบคู่มือและมาตรฐานการเก็บข้อมูลจัดทำคู่มือการเก็บข้อมูลตัวชี้วัดทรัพยากรประมง
2) เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ปัญหาที่พบจากการนำสมุดบันทึกข้อมูล (log sheet) ไปทดลองใช้
3) เพื่ออภิปรายหารูปแบบ และ ปรับปรุงเนื้อหาของสมุดบันทึกข้อมูลการเก็บตัวอย่าง (log sheet) เพื่อใช้ประโยชน์ในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มเรือประมงพาณิชย์ เรือประมงพื้นบ้าน และให้กลุ่มผู้ใช้ทรัพยากรได้มีส่วนร่วมในการกรอกข้อมูลพื้นฐานที่จำเป็น และ
4) เพื่อให้ที่ประชุมยอมรับในรายละเอียดของข้อมูลเพื่อที่จะใช้เป็นแนวทางในการเก็บข้อมูลและจัดทำคู่มือการเก็บข้อมูลของตัวชี้วัดเพื่อที่จะใช้เป็นมาตรฐานการเก็บข้อมูลให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันทั่วประเทศ
ที่ประชุมได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นพูดคุยถึงปัญหาและประสบการณ์จากการทดลองใช้แบบสัมภาษณ์และ แบบสอบถาม (log sheet) ที่เป็นผลจากการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อการจัดเก็บข้อมูลและจัดทำเป็นคู่มือการเก็บข้อมูลของตัวชี้วัดจากเรือประมงพาณิชย์ในประเทศไทย ระหว่างวันที่ 5-7 สิงหาคม 2551 และ การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อการจัดเก็บข้อมูลและจัดทำเป็นคู่มือการเก็บข้อมูลของตัวชี้วัดจากเรือประมงพื้นบ้านในประเทศไทย ระหว่างวันที่ 13-15 สิงหาคม 2551 รวมถึงเนื้อหาของแบบสัมภาษณ์ที่ใช้ในการเก็บข้อมูล หลังจากได้มีการอภิปรายพูดคุยโดยรวมแล้วผู้เข้าร่วมประชุมแบ่งเป็น 2 กลุ่ม โดยทำการอภิปรายเพื่อปรับปรุงแก้ไขและสรุปเนื้อหาแบบฟอร์มหรือสมุดบันทึกข้อมูล (log sheet) ในส่วนของกลุ่มเรือประมงพาณิชย์ (อวนลากและอวนล้อมจับ) และกลุมประมงพื้นบ้าน (อวนลอย ลอบ และอวนและแหครอบ) ให้มีความเหมาะสมสำหรับนักวิชาการที่สามารถนำไปใช้ได้จริงโดยพิจารณาจากผลการนำไปทดลองใช้
หลังจากได้ทำการปรับปรุงแก้ไขในเนื้อหาของแบบฟอร์มหรือสมุดบันทึกข้อมูล (log sheet) เรียบร้อยแล้ว ต่อจากนั้นได้เปิดการอภิปรายรวมอีกครั้งโดยร่วมกันอภิปรายในเนื้อหาเพิ่มเติมที่จะนำมาประกอบเป็น คู่มือการเก็บข้อมูลของตัวชี้วัดทางการประมงในประเทศไทย ต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น