สถานที่ฝึกอบรม:ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลอ่าวไทยฝั่งตะวันออก
จังหวัดระยอง ประเทศไทย
ผู้เข้ารับการฝึกอบรม: เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานและรับผิดชอบชุมชน
สังกัดส่วนบริหารจัดการประมงทะเล กองบริหารจัดการด้านการประมง
วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้เพิ่มทักษะ
เทคนิคและหลักในการทำงานร่วมกับชุมชนด้านการบริหารจัดการทรัพยากรประมงอย่างยั่งยืน
2. เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถคิดวิเคราะห์ วางแผนดำเนินการ
และติดตามผลการดำเนินงานได้อย่างเป็นระบบ
3. เพื่อให้เจ้าหน้าที่มีโอกาสได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นทัศนคติ
และประสบการณ์กับวิทยากรผู้มีความรู้ ความชำนาญด้านการทำงานร่วมกับชุมชน
และผู้เข้ารับการฝึกอบรมด้วยกันเอง
4. เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ให้แก่วิทยากรจากกรมประมงซึ่งได้ผ่านการฝึกอบรมมาก่อนหน้านั้น
ได้ฝึกฝนในการถ่ายทอดความรู้ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรประมงโดยใช้แนวทางเชิงระบบนิเวศให้แก่เจ้าหน้าที่ในประเทศตนเอง
สรุปผลการดำเนินงานหลักสูตร
ศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
(SEAFDEC) ร่วมมือกับกองบริหารจัดการด้านการประมงทะเล (กจป.) กรมประมง
ได้จัดการฝึกอบรมในหลักสูตร
หลักการทำงานกับชุมชนในการบริหารจัดการทรัพยากรประมงอย่างยั่งยืน ระหว่างวันที่ 6-11
กรกฎาคม 2558 ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงทะเลอ่าวไทยฝั่งตะวันออก จังหวัดระยอง
มีผู้เข้าร่วมรับการฝึกอบรม จำนวน 25 ท่าน โดยมี;
-
3 ท่าน มาจากส่วนบริหารจัดการประมงทะเล,
-
8
ท่าน มาจากศูนย์บริหารจัดการประมงทะเลอ่าวไทยตอนใน สมุทรปราการ,
-
9
ท่าน มาจากศูนย์บริหารจัดการประมงทะเลอ่าวไทยฝั่งตะวันออก ระยอง,
-
3
ท่าน มาจากศูนย์บริหารจัดการประทงทะเลภาคใต้ตอนบน ชุมพร, และ
-
2
ท่าน มาจากสำนักงานประมงจังหวัดชลบุรี
ประสบการณ์การทำงานของผู้เข้าฝึกอบรมจากทั้งหมด
25 ท่าน มีจำนวน 1 ท่านมีประสบการณ์ 31 ปี; 3 ท่านมีประสบการณ์อยู่ในช่วง 21-25 ปี; 3 ท่าน มีประสบการณ์อยู่ในช่วง 16-20 ปี; 7 ท่านอยู่ในช่วง 10-15
ปี; 5 ท่านมีประสบการณ์ 5-9
ปี และ 6 ท่านมีประสบการณ์น้อยกว่า 5 ปีหน้าที่รับผิดชอบของผู้รับการฝึกอบรมโดยส่วนใหญ่แล้วจะรับผิดชอบในเรื่องการปราบปรามตรวจสอบควบคุมการทำประมง
รวมไปถึงงานด้านชุมชนสัมพันธ์
หลักสูตรนี้ประกอบด้วยวิทยากรจาก SEAFDEC จำนวน 3 ท่าน คือ 1) น.ส. พนิตนาฏ ธาราดล, 2) น.ส. รัตนา เตี้ยเย, และ 3) นาย กฤษฎิ์ ภู่ศิริมงคล
นอกจากนี้ยังมีวิทยากรจากกรมประมง 4 ท่าน ได้แก่ 1) นาย ธนัช ศรีคุ้ม, 2) นายชลิต สง่างาม, 3) นาย อกนิษฐ์ เกื้อเผือก, และ 4)
นายมณตรี สุมณฑา และมีวิทยากรพิเศษ 3 ท่านคือ 1)
นายสัญชัย ตัณติวนิต 2) ดร. ยุทธนา
เทพอรุณรัตน์ 3) นายประยุทธ ยวดยิ่ง
ระยเวลาในการฝึกอบรมใช้เวลาทั้งหมด
6 วัน โดยหัวข้อหลักที่ใช้ในการฝึกอบรมเน้นในเรื่องการบริหารจัดการทรัพยากรประมงโดยใช้แนวทางเชิงระบบนิเวศ
(EAFM) นอกจากนี้ยังมีการเชิญประธานกลุ่มประมงเรือเล็กก้นปึกสามัคคี
จังหวัดระยอง มาเป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อเรื่อง “มุมมองจากผู้นำชุมชน
จ.ระยอง ที่เกิดความเข้มแข็ง” ซึ่งเป็นหัวข้อเพิ่มเติม
เพื่อให้ผู้เข้าฝึกอบรมได้เห็นมุมมอง/ความคิดในด้านของชาวประมง เพื่อให้เกิดความเข้าใจและการสามารถทำงานร่วมกับชุมชนได้อย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ
เพื่อการจัดการทรัพยากรประมงอย่างยั่งยืน ตารางเวลาการฝึกอบรมได้แสดงไว้ในภาคผนวก
2 ในวันสุดท้ายของการฝึกอบรม
ผู้เข้าฝึกอบรมได้มีการนำเสนอแผนงาน EAFM โดยใช้เครื่องมือที่ได้จากการฝึกอบรมร่วมประกอบการนำเสนอ
ทั้งนี้ความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมการฝึกการอบรม วิทยากร ได้ถูกแจ้งให้ผู้นำเสนอแผนงาน
เพื่อนำไปใช้ปรับปรุงในการวางแผนต่อไปในอนาคต
สำหรับแผน EAFM ที่ใช้นำเสนอในครั้งนี้ประกอบด้วย
4 กลุ่ม โดยมีชื่อแผนงานคือ
1.
โครงการบริหารจัดการทรัพยากรประมงโดยชุมชนมีส่วนร่วม
2.
โครงการพัฒนาลุ่มน้ำบางปะกงสู่ความยั่งยืน
3.
โครงการบริหารจัดการและฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งอ่าวบ้านเพ
4.
โครงการบริหารจัดการทรัพยากรประมงบริเวณอ่าวปราณบุรี
จากการประเมินการจัดหลักสูตรพบว่า ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความพึงพอใจในรูปแบบหลักสูตร/เนื้อหา
การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของวิทยากร เทคนิคในการฝึกอบรม รวมทั้งกิจกรรมต่างๆ
รวมถึงกิจกรรมสันทนาการในช่วงระหว่างหลักสูตร ทีมงานวิทยากร ตลอดจนคณะทีมงานผู้จัด
และผู้เข้ารับการฝึกอบรมยังมีความต้องการให้คงรูปแบบหลักสูตรไว้ถ้าต้องมีการจัดหลักสูตรนี้ในรุ่นต่อๆไป
นอกจากนี้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้ให้ข้อเสนอแนะในเรื่องของระยะเวลาการฝึกอบรมว่า
ควรมีระยะเวลาในการฝึกอบรมมากกว่า 5 วัน
และให้เวลาในการทำกิจกรรมกลุ่มมากกว่านี้ รวมไปถึงห้องประชุมที่อากาศร้อนในบางครั้ง
ผลที่ได้จากการประเมินหลักสูตรพบว่า
ผู้เข้ารับการฝึกอบรมทั้งหมด 25 ท่าน
ได้ทำข้อทดสอบได้คะแนนเฉลี่ย 12 คะแนนจากคะแนนเต็ม 18
คะแนน โดยคะแนนสูงสุดที่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รับคือ 16 คะแนน ดังนั้น ผู้เข้ารับการฝึกอบรมส่วนใหญ่มีความเข้าใจหลักการการบริหารจัดการทรัพยากรประมงโดยใช้แนวทางเชิงระบบนิเวศ